ฐานเรียนรู้ที่ 3 ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเห็ดป่าแม่โจ้

 
 
         เห็ดจัดเป็นอาหารที่มีรสชาติดีชนิดหนึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีนซึ่งสามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ประเทศไทยมีความเหมาะสมในการเพาะเห็ดมาก เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ดได้หลายชนิด มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดได้มากมาย และค่าแรงงานถูก เห็ดที่ผลิตในประเทศไทยมีมากกว่า 1.2 แสนตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 6 พันล้านบาท เห็ดที่ผลิตได้ในแต่ละปีใช้ในการบริโภคภายในประเทศและบางส่วนมีการส่งออกไปต่างประเทศ   มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเห็ด จึงจัดให้มีการเรียนการสอนของนักศึกษาในหลักสูตรเป็นประจำทุกภาคการศึกษา มีงานวิจัยเกี่ยวกับเห็ดชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในรูปแบบของการจัดฝึกอบรมเป็นประจำทุกปี ปีละประมาณ 5-10 ครั้ง เพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งอาหาร และรายได้แก่ประชาชน ซึ่งการเพาะเห็ดสามารถทำเป็นอาชีพหลักหรือรองของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

 

กิจกรรมของฐานเรียนรู้
  1. การผลิตเชื้อเห็ดในอาหารวุ้น
  2. การขยายหัวเชื้อเห็ดในข้าวฟ่าง
  3. การผลิตก้อนเห็ด
  4. การจัดฝึกอบรมระยะสั้น
นวัตกรรม
  1. การเพาะเลี้ยงเห็ดในตู้เย็นเก่า
  2. การเพาะเลี้ยงเห็ดในบ่อซีเมนต์
  3. การเพาะเลี้ยงเห็ดในตะกร้า
 
ผลผลิตเพื่อการจำหน่าย
  1. เห็ดโคนน้อย
  2. เห็ดนางฟ้า
  3. เห็ดนางรมเทา


 


ผู้รับผิดชอบฐานเรียนรู้

ตำแหน่งที่ตั้ง : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเห็ดป่าแม่โจ้
พิกัด GPS : – , –
 
รูปภาพฐานเรียนรู้/ กิจกรรม