ฐานเรียนรู้ที่ 7 ฐานเรียนรู้กัญชงอุตสาหกรรม

 

 

         มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ลงนามความร่วมมือ วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์กับกรมการแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาพืชกัญชาและกัญชงในระบบเกษตรอินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม โดยได้ปลูกกัญชาอินทรีย์ จำนวนทั้งสิ้น 16,700 ต้น เป็นแปลงปลูกกัญชาที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน พิเศษสุด สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถถ่ายภาพกับแปลงปลูกกัญชารูปแบบการปลูกนอกโรงเรือน (Out Door) ได้อีกด้วย
          ศูนย์ทดสอบ วิจัยและพัฒนากัญชง (Hemp Research and Development Center, HRDC) เป็นหน่วยงานภายใต้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีเป้าหมายในการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนกัญชงอุตสาหกรรม (Eco system for supporting industrial Hemp) มีกิจกรรมหลักดังนี้
             1) รับทดสอบ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านปัจจัยการผลิตที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของกัญชงสายพันธุ์ต่างประเทศจากเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
             2) พัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์เมล็ดกัญชง ที่เหมาะสมกับการประโยชน์ระดับอุตสาหกรรม โดยใช้สายพันธุ์กัญชงของไทย และต่างประเทศเป็นเชื้อพันธุกรรมเริ่มต้นในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์กันชงที่มีลักษณะที่ต้องการ สามารถนำไปขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเกษตร
             3) บริหารจัดการและบูรณาการองค์ความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรม ด้านพืชกัญชงผ่านบริการวิชาการ และการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับโครงการเชิงยุทธศาสตร์ (หลักสูตร non-degree และ แหล่งเรียนรู้)
             4) หารายได้จากการทดสอบสายพันธุ์กัญชง การวิเคราะห์สารสำคัญ ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน การจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากการทดสอบ วิจัยและพัฒนาของศูนย์ฯ และ
             5) เป็นศูนย์ร่วมเครือข่ายความร่วมมือด้านงานวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านกัญชงอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ภายในมหาวิทยาลัย ร่วมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ของภาครัฐและภาคเอกชนในระดับชาติและนานาชาติ
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆได้ที่: https://www.facebook.com/hrdc.mju
Highlight ของฐานเรียนรู้ ในวัน Open Farm (เฉพาะวันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2565 เท่านั้น)
ชิม/ชม/ช้อป ผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากกัญชง สัมผัสต้นกัญชงซีบีดีอย่างใกล้ชิด โดยมีทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดให้ความรู้ และให้คำแนะนำ  
กิจกรรมพิเศษ
          1. รู้จักกัญชงซีบีดี
          2. รู้จักวัสดุปลูกและปัจจัยการผลิตกัญชงอุตสาหกรรม
          3. สาธิตขั้นตอนการปลูกกัญชงซีบีดี
          4. ชิม/ชม/ช้อป ผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากกัญชงซีบีดี
ผลผลิตและผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย
          1. ผลผลิตจากกัญชงซีบีดี ได้แก่ ใบและรากกัญชง
          2. ชุดปลูกต้นกัญชง
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกัญชงซีบีดี ได้แก่ ชากัญชงซีบีดี ชุดดองกัญชงซีบีดี (ใบและราก) สบู่ ครีม เป็นต้น

 


ผู้รับผิดชอบฐานเรียนรู้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน
ตำแหน่งที่ตั้ง : ศูนย์ทดสอบ วิจัยและพัฒนากัญชง
พิกัด GPS : Latitude 18.9189604, Longitude 99.0505391
 
รูปภาพฐานเรียนรู้/ กิจกรรม